+++ [รายละเอียด] ข้อมูลสมุนไพร +++
|
ชื่อสมุนไพร |
ว่านนางคำ |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Curcuma aromatica Salisb |
ชื่อสามัญ |
WilD Turmeric |
ชื่อท้องถิ่น |
- |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
- ต้น ไม้ล้มลุก มีเหง้าและหัวสี เหลืองอยู่ใต้ดิน มีลำต้นแทงขึ้นมาจากหัว หัว มีกลิ่นหอม แตกแขนงเป็นแง่งคล้ายขมิ้นชัน เนื้อในเมื่อหักจะมีสีเหลืองเข้มหรือสีทองดูสวยงาม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหัวไปปลูก
- ใบ ใบสีเขียวออกเป็นกระจุกใกล้กับรากประมาณ 5-7 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปหอกกว้าง ปลาย ใบเรียวแหลม ใต้ท้องใบมีขน ใบมีความกว้างประมาณ 10-14 เซนติเมตรและยาวประมาณ 40-70 เซนติเมตร
- ดอก เป็นช่อเชิงลด มักมีดอกก่อนใบงอกจากเหง้า ช่อดอกยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร มี ใบประดับที่ปลายช่อมีสีชมพู ใบประดับที่รองรับมีดอกสีขาวแกมสีเขียว ปลายโค้งยาวถึง 6 เซนติเมตร ส่วน ใบประดับย่อยมีสีขาว ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 2 เซนติเมตร กลีบดอกมีสีขาวแกม |
สรรพคุณทางยา |
1. รากใช้เป็นยาขับเสมหะ
2. หัวขับลมในลำไส้ ลดกรดในกระเพาะ ช่วยแก้อาการปวดท้อง ถ่ายท้อง
3. รากช่วยรักษาโรคหนองในเรื้อรัง
4. รากใช้เป็นยาสมานแผล
5. หัวใช้ตำนำมาพอกช่วยแก้อาการฟกช้ำบวมตามร่างกาย แก้อาการเม็ดผื่นคัน
6. หัวช่วยรักษาอาการข้อเคล็ด เคล็ดขัดยอก อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
|
การนำไปใช้ประโยชน์ |
ว่านนางคำสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้อย่างหลากหลาย เช่น ว่านนางคำผง ผงว่านนางคำ
มาส์กหน้า โลชั่นบำรุงผิว สบู่ ยากันยุง เป็นต้น หัวของ ว่านนางคำเมื่อนำมาหักหรือผ่าจะมีกลิ่นหอมเย็น เมื่อสูดดมแล้วจะทำให้รู้สึกสดชื่น และยังสามารถนำมาใช้ ย้อมสีผ้าให้เป็นสีเหลืองที่ติดทนนาน หรือคั้นเอาน้ำมาใช้เขียนภาพได้
|
อ้างอิง |
พรรณไม้ไทย (2565) 108 พรรไม้ไทย : ว่านนางคำ. สืบค้น 19 เมษายน 2565, จาก
https://www.panmai.com/Warn/Warn_ZINGIB_07.shtml
เมดไทย. (2563) ว่านนางคำ. สืบค้น 19 เมษายน 2565, จาก https://medthai.com/ว่านนางคำ/ |
ไฟล์ |
|