+++ [รายละเอียด] ข้อมูลสมุนไพร +++
|
ชื่อสมุนไพร |
กระวาน |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Amomum krervanh Pierre |
ชื่อสามัญ |
Best cardamom, Camphor, Clustered cardamom, Siam cardamom |
ชื่อท้องถิ่น |
ปล้าก้อ (ปัตตานี), กระวานขาว (ภาค กลาง ภาคตะวันออก), มะอี้ (ภาคเหนือ), ข่าโคก ข่าโค่ม หมากเนิ้ง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), กระวานไทย กระวานดำ กระวานแดง กระวาน จันทร์ กระวานโพธิสัตว์ |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
- ต้น เป็นไม้ล้มลุกมีเหง้า มีความสูงประมาณ 2 เมตร มีกาบใบหุ้มซ้อนกันทำให้ดูคล้ายลำต้
- ใบ เป็นใบเดี่ยว ลักษณะใบแคบและยาว เป็นรูปขอบขนาน มีความยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร ปลายใบแหลม
- ดอก ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกออกมาจากเหง้า ชูขึ้นขึ้นมาเหนือพื้นดิน เรียงสลับซ้อนกันตลอดช่อ ใน ซอกใบประดับมีดอกประมาณ 1-3 ดอก ปลายกลีบเลี้ยงมีหยัก 3 หยัก กลีบดอกมีสีเหลือง เป็นหลอดแคบ เกสรตัวผู้เป็นแบบไม่สมบูรณ์เพศ แปรสภาพเป็นกลีบขนาดใหญ่สีขาว มีแถบสีเหลืองอยู่ตรงกลาง
- ผล มีลักษณะค่อนข้างกลม ติดเป็นพวงราว 10-20 ผล ผลมีสีขาวนวล เปลือกผิวเกลี้ยง มองเห็นเป็นพู มี 3 พู ผลอ่อนมีขน ผิวเปลือกมีริ้วตามยาว เรียงตัวจากฐานไปสู่ยอด ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 6-15 มิลลิเมตร ทั้งหัวและท้ายผลมีจุก ผลจะร่วงไปเมื่อแก่ ผลแก่จะแตก มี เมล็ดอยู่ภายในจำนวนมาก แบ่งเป็น 3 กลุ่ม มีเมล็ดกลุ่มละประมาณ 12-18 เมล็ด
- เมล็ด เมล็ดอ่อนมีสีขาวและมีเยื่อหุ้ม เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีดำหรือสีน้ำตาลไหม้ โดยทั้งผล และเมล็ดจะมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว คล้ายกับกลิ่นของการบูร มีรสเผ็ดและเย็น
|
สรรพคุณทางยา |
1. ผลแก่และใบช่วยทำให้เจริญอาหาร
2. เปลือก ใบและเมล็ดช่วยแก้เสมหะ ขับเสมหะ
3. ผลแก่ช่วยแก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน
4. ผลแก่และใบแก้ลมจุกเสียดแน่นเฟ้อ ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาการปวดท้อง
5. ผลแก่ ใบและรากช่วยรักษาโรครำมะนาด
6. เปลือกช่วยแก้ไข้
7. เปลือกช่วยรักษาโรคผิวหนัง |
การนำไปใช้ประโยชน์ |
- ลูกกระวานนำไปเป็นเครื่องเทศประกอบอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติและกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ เมล็ดที่อยู่ภายในลูกกระวานนำมาแต่งกลิ่นอาหาร ขนมหวาน ขนมปัง คุกกี้ และช่วยในการดับกลิ่นคาว ของเนื้อสัตว์ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้สามารถนำไปแปรรูปและผลิตเป็นน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้ดม ส่วนบริเวณเหง้าอ่อน ของกระวานสามารถนำมารับประทานคู่กับน้ำพริกได้
- ลูกกระวานสามารถนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย มีกลิ่นหอมโดดเด่น ส่วนประกอบน้ำมันหอมระเหยของกระวาน ได้แก่ การบูร (camphor) ไพนิน (pinene) ลิโมนีน (limonene) และ เมอร์ซีน (myrcene) ในการรักษาโรค |
อ้างอิง |
- กระต่ายคู่. (2560) ลูกกระวาน ใบกระวาน สมุนไพรสรรพคุณ เผ็ดร้อนเต็มไปด้วยประโยชน์.
สืบค้น 5 พฤษภาคม 2565, จาก https://krataiku.com/กระวาน/
- เมดไทย. (2563) กระวาน. สืบค้น 5 พฤษภาคม 2565, จาก https://medthai.com/กระวาน/สมุนไพรอภัยภูเบศร. (2561) กระวานสมุนไพรเกดรเอทั่วโลกรู้จัก. สืบค้น 5 พฤษภาคม 2565,
จาก https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_ |
ไฟล์ |
|