+++ [รายละเอียด] ข้อมูลสมุนไพร +++



ชื่อสมุนไพร  ดีปลี
ชื่อวิทยาศาสตร์  Piper retrofractum Vahl
ชื่อสามัญ  Long peper
ชื่อท้องถิ่น  ดีปลีเชือก (ภาคใต้), ปานนุ ประดงข้อ (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  - เถา ประเภทเลื้อย มีรากงอกออกตามข้อและเกาะพันไปกับสิ่งอื่นได้ ลำต้นรูปทรงกระบอกค่อนข้างกลม เปราะ หักง่าย คดไปมา ขนเกลี้ยง เมื่อแห้งเป็นลายละเอียด - ใบ ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตามข้อใบลักษณะใบรีรูปแกมขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเบี้ยว ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวเข้มค่อนข้างมัน เมื่อแห้งมีสีจางลง เส้นใบจากโคนใบมี 3 - 5 เส้น - ดอก เป็นช่อตั้งอยู่ตรงข้ามกับใบ ดอกย่อยไม่มีก้าน ดอกเรียงอัดแน่นบนแกนช่อเป็นรูปทรงกระบอก ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก ช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียอยู่คนละต้นกัน เกสรตัวผู้มี 2 อัน อับเรณูรูปขอบขนาน รังไข่ฝังในแกนกลางช่อ ยอดเกสรตัวเมียมี 3 พู
- ผล อัดกันแน่นเป็นช่อ ผลกลมยาวเป็นปุ่มเล็ก เมื่ออ่อนมีสีเขียว เป็นเกล็ดเล็กๆ พอสุกหรือแก่จัดก็กลายเป็นสีส้มหรือสีแดงเข้ม โคนกว้างปลายมน มีลักษณะคล้ายกับลูกช้าพลู
สรรพคุณทางยา  1. ดอกช่วยแก้อาการท้องเสีย
2. ดอกแก้อัมพาต
3. ดอกแก้คลื่นไส้อาเจียน
4. ดอกผลแก่จัด เถารากช่วยขับเสมหะ
5. ดอกและผลแก่จัดแก้หืด
6. รากช่วยแก้ตัวร้อน
7. ผลแก่ช่วยขับลม แก้จุกเสียด
8. ผลแก้นอนไม่หลับ
9. ผลแก้ลมบ้าหมู
10. ดอกและเถาชาวยทำให้เจริญอาหาร
11. ผลแก่จัดใช้เป็นยาทาภายนอกสำหรับบรรเทาอาการปวดที่กล้ามเนื้อ
12. ผล ดอกและเถาแก้ริดสีดวงทวาร
การนำไปใช้ประโยชน์  - ผลอ่อนดีปลีสามารถใช้รับประทานเป็นผักสดได้ ผลแก่สามารถนำมาใช้ตำน้ำพริกแทนพริกได้ หรือในบางท้องถิ่นก็นำมาใช้แต่งใส่ในผักดองเช่นเดียวกับพริก ยอดอ่อนดีปลีสามารถนำมาใช้ใส่ในข้าวยำได้ และยังสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องในการประกอบอาหาร ด้วยการนำผลสุกดีปลีมาตากแห้งแล้วใช้ปรุงรสแกงคั่ว หรือแกงเผ็ด เพื่อใช้ดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ได้ดี ช่วยปรุงรสปรุงกลิ่นให้อาหารน่ารับประทาน ผลดีปลีมีน้ำมันหอมระเหยที่มีฤทธิ์สามารถฆ่าแมลงด้วงงวงและด้วงถั่วได้ และอาจนำมาสกัดเป็นสารกำจัดแมลงสูตรธรรมชาติได้
อ้างอิง  คณะเภสัชศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2565). ข้อมูลพืชสมุนไพร : ดีปลี. สืบค้น 15 มีนาคม 2565, จาก https://pharmacy.su.ac.th/herbmed/herb/text/herb_detail.php?herbID=90 เมดไทย. (2563) ดีปลี. สืบค้น 30 มีนาคม 2565, จาก https://medthai.com/ดีปลี/
ไฟล์